FORGOT YOUR DETAILS?

CREATE ACCOUNT

Gasification System

เป็นผู้ออกแบบระบบ Gasification System และผลิตเตาปฏิกรณ์ Gasifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงขยะให้เป็นพลังงาน ปัจจุบันผลิตจำหน่ายขนาด 500 กิโลวัตต์ขึ้นไป

Namwon Gasifier
UEA Biomass 2-MW Gasification Power Plant
Uras, Olive Factory Biomass Gasification Power Plant
Ankara MSW 2 MW Gasification Power Plant

Gasification System

เป็นผู้ผลิต Gasifier ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กระบวนการทางความร้อนเปลี่ยนอินทรีย์สารที่มีองค์ประกอบของ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ให้กลายเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) และก๊าซมีเทน (CH4) โดยจำกัดปริมาณออกซิเจน ปัจจุบันรับผลิตตามคำสั่งซื้อ

  • ประหยัด (Saving)
  • ใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินเครื่องน้อย
  • พื้นที่วางเครื่องน้อย
  • เงินลงทุนน้อยกว่าระบบขนาดใหญ่
  • เป็น Modular Unit บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์
  • ขยายการผลิตได้โดยสะดวกและบ่อยครั้ง
  • ปลอดภัยในการเดินเครื่อง (Safety)
  • ความดันอากาศภายในต่ำ
  • โครงสร้างอุปกรณ์แข็งแรงคงทนอย่างดีเยี่ยม
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly)

แก๊สซิฟิเคชัน คืออะไร

แก๊สซิฟิเคชัน คือกระบวนการพิเศษที่แปลงวัสดุคาร์บอนพื้นฐาน (carbon-based materials) ทั้งในรูปของแข็งและของเหลว อาทิเช่น ขยะชุมชน หรือชีวมวล ให้อยู่ในรูปของก๊าซโดยการให้ความร้อนระดับหนึ่งแต่ไม่ถึงระดับการเผา และจำกัดปริมาณออกซิเจนหรืออากาศ โดยความร้อนระดับนี้จะทำให้โมเลกุลเกิดการแตกตัว ในเบื้องต้นจะได้ส่วนผสมของคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน

สิ่งที่ได้จากกระบวนดังกล่าวคือซินแก๊ส (syngas) หรือ synthesis gas ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ดังนั้นขยะชุมชนหรือของเสียจะไม่ใช่ของไร้ประโยชน์อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (feedstocks) สำหรับแก๊สซิไฟเออร์ (gasifier)

แก๊สซิฟิเคชัน นำไปใช้อะไรได้บ้าง

แก๊สซิฟิเคชันถูกนำไปใช้ทั่วโลกในเชิงพาณิชย์มากว่า 200 ปี เช่น การทำเชื้อเพลิงแก๊ส (town gas) จากถ่านหินเพื่อให้ได้ความร้อน แสงสว่าง และการทำอาหาร และกว่า 80 ปีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี การกลั่น การผลิตปุ๋ย และมากกว่า 35 ปี ในการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญทั่วโลกในเรื่องของความต้องการด้านพลังงาน โดยใช้วัตถุดิบตั้งต้นประเภทถ่านหิน ปิโตรเลียมโค๊ก และชีวมวล แก๊สซิฟิเคชันถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กลง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการกำจัดขยะ และการสกัดพลังงานที่มีค่าจากของเสีย

แก๊สซิฟิเคชันสามารถนำพลังงานที่มีค่าจากของเสียมาใช้

  • ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน ขยะชุมชน หรือ MSW ไม่ถือว่าเป็นเชื้อเพลิง แต่ถือว่าเป็นวัตถุดิบตั้งต้นหรือ feedstocks สำหรับใช้ในกระบวนทางเคมีขั้นสูง และไม่มีการเผาไหม้
  • แก๊สซิฟิเคชันสามารถแปลง MSW ที่ปกติมักจะถูกกนำไปเผา ให้กลายเป็นซินแก๊สที่สะอาดและมีประโยชน์
  • ซินแก๊สที่สะอาดสามารถนำมาใช้ในการผลิตพลังงาน หรืออุตสาหกรรมการผลิตที่มีค่าอื่น ๆ เช่น สารเคมี เชื้อเพลิงเพื่อการขนส่ง ปุ๋ย และกระแสไฟฟ้า และอื่น ๆ
  • แก๊สซิฟิเคชันไม่ได้เป็นคู่แข่งกับธุรกิจการรีไซเคิล อันที่จริงแล้ว ทั้งสองอุตสาหกรรมนี้ช่วยเสริมสร้างกันและกันมากกว่า เพราะโลหะ แก้ว หรือวัสดุอนินทรีย์อื่น ๆ ไม่สามารถนำเข้ากระบวนการแก๊สซิฟิเคชันได้และจะถูกแยกออกมาก่อน ยกเว้นพวกพลาสติกที่เราควรจะคัดเลือกเอาพลาสติกที่ไม่เหมาะกับการรีไซเคิลเท่านั้นไปเข้ากระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน เพราะหากไม่กำจัดพลาสติกเหล่านี้ก็จะถูกนำไปฝังกลบซึ่งต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย การตัดสินใจว่าจะนำพลาสติกไปกำจัดหรือนำไปรีไซเคิลขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการกำจัด และมลพิษแวดล้อม ซึ่งปัจจัยในสภาพท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน
  • เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถือเป็นประโยชน์สำคัญของแก๊สซิฟิเคชัน ได้แก่ การลดการใช้พื้นที่ในการฝังกลบ ลดปัญหาการปล่อยแก๊สมีเทนเมื่อขยะถูกย่อยสลาย การปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงในดินหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ

แก๊สซิฟิเคชัน ไม่ใช่การเผา

แก๊สซิฟิเคชันเป็นกระบวนการที่มีความก้าวหน้าเหนือกว่าการเผา ในการทำความเข้าใจเรื่องแก๊สซิฟิเคชันควรจะต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างการเผากับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันนี้ก่อน:

ในกระบวนการเผาขยะจนเป็นมอดเป็นถ่านออกมา ขยะชุมชนถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับอากาศในการเผาไหม้จนได้คาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนออกมา ในโรงงานแปรรูปของเสียให้เป็นพลังงาน ใช้การเผาเพื่อให้ได้ความร้อนในการเอาไปทำไอน้ำเพื่อที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า

ส่วนในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันจะแปรรูปขยะชุมชนให้อยู่ในรูปของซินแก๊ส ซึ่งถือเป็นข้อแตกต่างสำคัญระหว่างสองกระบวนการนี้ ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน ขยะชุมชนไม่ใช่เชื้อเพลิง แต่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับกระบวนการแปรรูปทางเคมีที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นผลผลิตที่ได้จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันจึงมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์มากกว่าผลผลิตในรูปของความร้อนและกระแสไฟฟ้าที่ได้จากโรงงานแปรรูปของเสียให้เป็นพลังงาน อาทิ เช่น เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง สารเคมี ปุ๋ย หรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการเผาขยะไม่สามารถทำได้

กระบวนการเผาไหม้ ต่อ กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน
C + O2  → CO2 C + ½ O2  → CO2
C + CO2  → 2CO
C + H2O  → CO + H2
ประโยชน์ที่ได้คือความร้อน ประโยชน์ที่ได้คือ Syngas

 

ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะชุมชนคือการเกิดสารพิษไดออกซินและฟิวแรนจากพลาสติกพีวีซี โดยสารพิษเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในไอเสียในสามแนวทางคือ:

  • เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลย่อย
  • เกิดการรวมตัวกันของโมเลกุลย่อยอีกครั้ง และ/หรือ
  • ผ่านออกมาจากเตาเผาโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ในกระบวนการเผาไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ กระบวนการทำความสะอาดจะเกิดขึ้นหลังการเผาไหม้ ประโยชน์สำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันก็คือซินแก๊สที่ปนเปื้อนถูกทำความสะอาดและกำจัดได้ก่อนการนำไปใช้งานต่อ ส่วนการขจัดสิ่งปนเปื้อนภายหลังการเผาไหม้จะต้องมีระบบควบคุมการปล่อยอากาศเสียตามที่มีใช้กันในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ สำหรับซินแก๊สที่สะอาดแล้วสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ เครื่องเทอร์ไบน์ เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือนำไปเข้ากระบวนการต่อไปเพื่อผลิตไฮโดรเจน การผลิตก๊าซธรรมชาติ สารเคมี เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง อย่างเช่น เอทานอล

แก๊สซิฟิเคชันจึงมีความแตกต่างและสะอาดกว่าการเผา:

  • ในระบบแก๊สซิฟิเคชันที่อุณหภูมิสูง โมเลกุลขนาดใหญ่ของพลาสติกจะถูกแตกตัวออกมาเป็นสารประกอบที่มีคุณค่าอย่างซินแก๊สซึ่งสามารถเอามาทำความสะอาดก่อนนำไปเข้ากระบวนการผลิตอื่น ๆ หรือการใช้งาน
  • สารพิษไดออกซินและฟิวแรนต้องมีปริมาณออกซิเจนมากพอถึงจะเกิดขึ้นได้ แต่ในแก๊สซิไฟเออร์ที่มีปริมาณออกซิเจนจำกัด ไดออกซินและฟิวแรนไม่สามารถเกิดขึ้นได้
  • ในการก่อตัวของไดออกซินจะต้องมีอนุภาคของโลหะในการปล่อยควันเสีย ส่วนซินแก๊สจากแก๊สซิฟิเคชันจะต้องถูกทำความสะอาดก่อนให้ปราศจากอนุภาค หรือฝุ่นผงละเอียดก่อนที่จะไปใช้งานต่อได้
  • ในโรงงานแก๊สซิฟิเคชันที่ใช้ซินแก๊สในอุตสาหกรรมการผลิตปลายน้ำ เช่น เชื้อเพลิง สารเคมี ปุ๋ย ซินแก๊สจะถูกทำให้เย็นลงในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงทำให้ไดออกซินและฟิวแรนไม่กลับมาก่อตัวขึ้นอีก
  • เมื่อซินแก๊สถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการสร้างความร้อน มันสามารถทำให้สะอาดได้ก่อนเกิดการเผาไหม้ ซึ่งกระบวนการนี้ไม่สามารถทำได้ในเตาเผา

ขี้เถ้าที่ได้จากแก๊สซิฟิเคชันก็แตกต่างจากขี้เถ้าที่ได้จากเตาเผา ขณะที่ขี้เถ้าจากเตาเผาถือว่าปลอดภัยในการใช้เป็นตัวเลือกสำหรับส่วนผสมในการทำการฝังกลบ แต่ก็ยังมีข้อกังวลในการนำมาใช้จริงเชิงพาณิชย์ ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันที่อุณหภูมิสูง ขี้เถ้ามักรวมตัวกับสารในน้ำชะขยะ (non-leachable slag) ในรูปของกากเหลว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง ก็จะเกิดการจับตัวกลายเป็นก้อนผลึกคล้ายแก้วสามารถนำมาผสมใช้ในการทำซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคา ฟิลเลอร์ ยางมะตอย หรือสารพ่นทราย แก๊สซิไฟเออร์บางชนิดถูกออกแบบมาให้รวบรวมโลหะที่หลอมละลายออกมา เพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันในเรื่องของรีไซเคิล

Reference Sites

โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะที่สร้างตามสิทธิบัตรของ Dr. Murat Dogru และได้เปิดดำเนินงานแล้ว

 

 

 

Project : UEA Biomass 2-MW Gasification Power Plant
Site : UEA (University of East Anglia) in Norwich, UK
Fuel : Biomass (Woodchip)
Capacity : 48 tons/day
Power Generation : GE Syngas Engine
Power Producing : 2 MWe
Plant Completion : Oct. 2009

 

 

 

 

 

 

 

Project : Uras, Olive Factory Biomass Gasification Power Plant
Site : Bursa, Turkey
Fuel : Biomass (Olive biomass waste)
Capacity : 15.6 tons/day
Power Generation : Turboden ORC Turbine
Power Producing : 0.65 MWe
Plant Completion : 2015

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Project : Ankara MSW 2-MW Gasification Power Plant
Site : Ankara, Turkey
Fuel : MSW (Fluff RDF)
Capacity : 48 tons/day
Power Generation : GE Syngas Engine
Power Producing : 2 MWe
Plant Completion : 2007

TOP