SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

CREATE AN ACCOUNT FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

CREATE ACCOUNT

ALREADY HAVE AN ACCOUNT?
  • LOGIN

Kang Yong Group

  • ผลิตภัณฑ์และบริการ
    • เครื่องใช้ไฟฟ้า
    • วัสดุก่อสร้าง / กาวติดกระจกรถยนต์
    • บอยเลอร์และอุปกรณ์เสริม
    • แผงโซล่าร์เซลส์
    • ปั๊มน้ำ
    • โซลูชั่นพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ESCO)
    • ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น
    • จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
    • อีเอ็ม-เอ็กซ์ โกลด์
  • ร้านค้าออนไลน์
    • ลาซาด้า
      • ผลิตภัณฑ์ อีเอ็ม
      • กาวติดกระจกรถยนต์ ฮามาไทต์
    • ช้อปปี้
      • ผลิตภัณฑ์ อีเอ็ม
      • กาวติดกระจกรถยนต์ ฮามาไทต์
  • บล็อก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ไทยไทย
    • EnglishEnglish
  • Home
  • บล็อค
  • แก๊สซิฟิเคชัน การแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน ตอนที่ 6
มกราคม 22, 2021

แก๊สซิฟิเคชัน การแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน ตอนที่ 6

แก๊สซิฟิเคชัน การแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน ตอนที่ 6

by webmaster / วันพฤหัส, 15 กันยายน 2016 / Published in บล็อค

แก๊สซิฟิเคชันไม่ใช่การเผา

แก๊สซิฟิเคชันเป็นกระบวนการที่มีความก้าวหน้าเหนือกว่าการเผา ในการทำความเข้าใจเรื่องแก๊สซิฟิเคชันควรจะต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างการเผากับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันนี้ก่อน:

ในกระบวนการเผาขยะจนเป็นมอดเป็นถ่านออกมา ขยะชุมชนถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับอากาศในการเผาไหม้จนได้คาร์บอนไดออกไซด์และความร้อนออกมา ในโรงงานแปรรูปของเสียให้เป็นพลังงาน ใช้การเผาเพื่อให้ได้ความร้อนในการเอาไปทำไอน้ำเพื่อที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้า

ส่วนในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันจะแปรรูปขยะชุมชนให้อยู่ในรูปของซินแก๊ส ซึ่งถือเป็นข้อแตกต่างสำคัญระหว่างสองกระบวนการนี้ ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน ขยะชุมชนไม่ใช่เชื้อเพลิง แต่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับกระบวนการแปรรูปทางเคมีที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นผลผลิตที่ได้จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันจึงมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์มากกว่าผลผลิตในรูปของความร้อนและกระแสไฟฟ้าที่ได้จากโรงงานแปรรูปของเสียให้เป็นพลังงาน อาทิ เช่น เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง สารเคมี ปุ๋ย หรือแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการเผาขยะไม่สามารถทำได้

กระบวนการเผาไหม้ ต่อ กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน
C + O2  –>  CO2 C + ½ O2 –>  CO2
C + CO2  –> 2CO
C + H2O –> CO + H2
ประโยชน์ที่ได้คือความร้อน ประโยชน์ที่ได้คือซินแก๊ส

 

ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะชุมชนคือการเกิดสารพิษไดออกซินและฟิวแรนจากพลาสติกพีวีซี โดยสารพิษเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในไอเสียในสามแนวทางคือ:

  • เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลย่อย
  • เกิดการรวมตัวกันของโมเลกุลย่อยอีกครั้ง และ/หรือ
  • ผ่านออกมาจากเตาเผาโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ในกระบวนการเผาไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ กระบวนการทำความสะอาดจะเกิดขึ้นหลังการเผาไหม้ ประโยชน์สำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันก็คือซินแก๊สที่ปนเปื้อนถูกทำความสะอาดและกำจัดได้ก่อนการนำไปใช้งานต่อ ส่วนการขจัดสิ่งปนเปื้อนภายหลังการเผาไหม้จะต้องมีระบบควบคุมการปล่อยอากาศเสียตามที่มีใช้กันในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ สำหรับซินแก๊สที่สะอาดแล้วสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ เครื่องเทอร์ไบน์ เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือนำไปเข้ากระบวนการต่อไปเพื่อผลิตไฮโดรเจน การผลิตก๊าซธรรมชาติ สารเคมี เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง อย่างเช่น เอทานอล

แก๊สซิฟิเคชันจึงมีความแตกต่างและสะอาดกว่าการเผา:

  • ในระบบแก๊สซิฟิเคชันที่อุณหภูมิสูง โมเลกุลขนาดใหญ่ของพลาสติกจะถูกแตกตัวออกมาเป็นสารประกอบที่มีคุณค่าอย่างซินแก๊สซึ่งสามารถเอามาทำความสะอาดก่อนนำไปเข้ากระบวนการผลิตอื่น ๆ หรือการใช้งาน
  • สารพิษไดออกซินและฟิวแรนต้องมีปริมาณออกซิเจนมากพอถึงจะเกิดขึ้นได้ แต่ในแก๊สซิไฟเออร์ที่มีปริมาณออกซิเจนจำกัด ไดออกซินและฟิวแรนไม่สามารถเกิดขึ้นได้
  • ในการก่อตัวของไดออกซินจะต้องมีอนุภาคของโลหะในการปล่อยควันเสีย ส่วนซินแก๊สจากแก๊สซิฟิเคชันจะต้องถูกทำความสะอาดก่อนให้ปราศจากอนุภาค หรือฝุ่นผงละเอียดก่อนที่จะไปใช้งานต่อได้
  • ในโรงงานแก๊สซิฟิเคชันที่ใช้ซินแก๊สในอุตสาหกรรมการผลิตปลายน้ำ เช่น เชื้อเพลิง สารเคมี ปุ๋ย ซินแก๊สจะถูกทำให้เย็นลงในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงทำให้ไดออกซินและฟิวแรนไม่กลับมาก่อตัวขึ้นอีก
  • เมื่อซินแก๊สถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการสร้างความร้อน มันสามารถทำให้สะอาดได้ก่อนเกิดการเผาไหม้ ซึ่งกระบวนการนี้ไม่สามารถทำได้ในเตาเผา

ขี้เถ้าที่ได้จากแก๊สซิฟิเคชันก็แตกต่างจากขี้เถ้าที่ได้จากเตาเผา ขณะที่ขี้เถ้าจากเตาเผาถือว่าปลอดภัยในการใช้เป็นตัวเลือกสำหรับส่วนผสมในการทำการฝังกลบ แต่ก็ยังมีข้อกังวลในการนำมาใช้จริงเชิงพาณิชย์ ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันที่อุณหภูมิสูง ขี้เถ้ามักรวมตัวกับสารในน้ำชะขยะ (non-leachable slag) ในรูปของกากเหลว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง ก็จะเกิดการจับตัวกลายเป็นก้อนผลึกคล้ายแก้วสามารถนำมาผสมใช้ในการทำซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคา ฟิลเลอร์ ยางมะตอย หรือสารพ่นทราย แก๊สซิไฟเออร์บางชนิดถูกออกแบบมาให้รวบรวมโลหะที่หลอมละลายออกมา เพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันในเรื่องของรีไซเคิล

Tagged under: การแปรรูปขยะ, พลังงานขยะ, แก๊สซิฟิเคชัน

About webmaster

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Featured Posts

  • What is MIURA Boiler?
    ไม่มีความเห็น
  • แก๊สซิฟิเคชัน คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2
  • แก๊สซิฟิเคชัน คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1
  • แก๊สซิฟิเคชัน การแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน ตอนจบ

Archives

  • ธันวาคม 2016
  • พฤศจิกายน 2016
  • ตุลาคม 2016
  • กันยายน 2016
  • สิงหาคม 2016
  • กรกฎาคม 2016
  • มิถุนายน 2016
  • พฤษภาคม 2016
  • เมษายน 2016
  • ธันวาคม 2015

แผนกบริการลูกค้า

  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อ

สมัครรับข่าวสาร

By subscribing to our mailing list you will always be update with the latest news from us.

We never spam!

over a year agoแก๊สซิฟิเคชัน คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2 https://t.co/9UotNr1rmz
Follow @KangYong_Group

  • GET SOCIAL
Kang Yong Group

Copyright© 2016. KANG YONG GROUP All Rights Reserved.

TOP